ภาวะแมลงดื้อยา

ภาวะแมลงดื้อยา

21 ก.ค. 2566   ผู้เข้าชม 123

แมลงมันดื้อยา ยาพวกนี้เอาไม่อยู่ ต้องใช้ยาแรง หรือผสมมัน 2-3 อย่าง ถึงจะเอาอยู่” ประโยคคล้ายคลึงกันนี้ บ่อยครั้งมากที่ได้ยินและคำถามต่อมาคือ “มียาหรือสารฆ่าแมลงอะไรไหมที่ดีกว่านี้”  ทั้งๆ ที่สารฆ่าแมลงที่ใช้อยู่นั้น เป็นสารเคมีที่ทางหน่วยงานราชการแนะนำว่ายังใช้ได้ผล แต่ทำไมแมลงมันถึงดื้อยาหรือสร้างความต้านทานต่อสารฆ่าแมลงชนิดนั้นๆ ได้ ตามหลักการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด จะมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเพื่อดำรงเผ่าพันธุ์โดยทั่วไปแมลงจึงสามารถสร้างความต้านทานได้เองตามธรรมชาติ  เมื่อพ่นสารฆ่าแมลงเพื่อกำจัดแมลงลงไป จะมีแมลงอยู่จำนวนหนึ่งที่ไม่ตาย เนื่องจากแมลงมีความแข็งแรงอยู่แล้ว หรืออาจจะหลบหลีกได้ทันและสัมผัสกับสารฆ่าแมลงได้เพียงเล็กน้อย หรือแมลงสามารถสลายพิษได้ทัน จึงไม่ตายและดำรงชีวิตอยู่ได้ เมื่อมีการพ่นสารฆ่าแมลงชนิดเดิมอีกครั้งแมลงที่รอดมาจากครั้งที่แล้ว ก็จะทนทานอยู่ได้และสามารถถ่ายทอดลักษณะเด่นนั้นไปสู่รุ่นลูก ซึ่งแมลงรุ่นลูกนี้จะทนทานสารเคมีได้มากกว่ารุ่นพ่อแม่เสียอีก จึงเป็นที่มาของการระบาดอย่างรุนแรง


กลไกการสร้างความต้านต่อสารเคมีของแมลงมีอยู่หลายรูปแบบ

  1. กลไกทางพฤติกรรม (Behavioral resistance) โดยธรรมชาติแมลงจะมีสัญชาตญาณในการรับรู้ว่าสิ่งไหนมีอันตรายหรือไม่มีอันตราย ตัวอย่างเช่น แมลงจะหยุดกินใบพืชเมื่อมีสารฆ่าแมลงเคลือบอยู่ ในขณะที่มีการพ่นสารแมลงอาจจะหลบลงใต้ใบพืช หรือเคลื่อนย้ายหนีออกบริเวณนั้นทันที ทำให้แมลงเหล่านั้นรอดชีวิตเพราะได้รับสารเคมีในปริมาณน้อย
  2. กลไกการป้องกันการซึมผ่าน (Penetration resistance) แมลงที่ต้านทานจะมีการดูดซับสารพิษได้ช้ากว่าแมลงที่อ่อนแอ เนื่องจากผนังลำตัวชั้นนอกของแมลงมีไขเคลือบเพื่อป้องกันสารฆ่าแมลงซึมผ่านเข้าไปสู่ระบบภายใน แมลงที่มีความต้านทานจะมีผนังชั้นนอกหนากว่า จึงทำให้สารฆ่าแมลงซึมทะลุผ่านเข้าไปได้น้อย
  3. กลไกการย่อยสลายพิษ (Metabolic resistance) แมลงที่มีความต้านทานจะสามารถย่อยสลายหรือลดความเป็นพิษของสารฆ่าแมลงได้ดีกว่าแมลงอ่อนแอ โดยมีเอนไซม์ในการสลายพิษหลายตัวเช่น esterases, oxidases และ Glutathione transferases (GSTs) ถ้าหากเอนไซม์เหล่านี้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แมลงก็จะได้รับอันตรายจากพิษของสารฆ่าแมลงน้อยมาก และยังสามารถสลายพิษสารฆ่าแมลงได้หลายๆ กลุ่มอีกด้วย
  4. กลไกการเปลี่ยนแปลงที่ตำแหน่งการออกฤทธิ์ (Altered target-site resistance) แมลงมีการเปลี่ยนโครงรูปหรือหน้าที่ของเอนไซม์ ทำให้ลดความว่องไวในการจับกับสารฆ่าแมลง มีการออกฤทธิ์ต่อแมลงช้าลง จึงทำให้เอนไซม์ต่างๆ ที่มีหน้าที่สลายพิษสามารถทำลายพิษได้ก่อนการเกิดพิษ

ปัจจัยภายนอกอีกหลายประการที่มีส่วนทำให้แมลงเกิดการต้านทานสารฆ่าแมลง แต่ปัจจัยที่สำคัญๆ

  1. การใช้สารฆ่าแมลงที่พิษสูง (High toxicity) ยิ่งมีพิษสูงมากเท่าไหร่ก็ทำให้แมลงเกิดแรงขับที่จะเอาชนะหรือต้านทานมากขึ้นตามไปด้วย
  2. การใช้สารฆ่าแมลงควบคุมในพื้นที่กว้าง ทำให้กัดแมลงได้ไม่ทั่วถึง
  3. การใช้สารฆ่าแมลงชนิดเดียว หรือสารที่มีกลไกการออกฤทธิ์ (Mode of Action) เดียวกันติดต่อกันเป็นเวลานาน สามารถทำให้แมลงสร้างความต้านได้เร็วขึ้น

 

 

 

 

สำหรับลูกค้าท่านใดที่กำลังประสบปัญหาปลวก มด แมลง และสัตว์รบกวน Happy House รับกำจัดปลวก เชียงใหม่ พร้อมยินดีให้บริการคุณอย่างครบวงจร โดยทีมงานคุณภาพที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน คอยให้บริการตรวจเช็ก ประเมินราคา และให้คำปรึกษาฟรี! เพื่อแก้ไขปัญหาให้ถูกจุดและทันท่วงที ทั้งบ้านพักอาศัย หอพัก คอนโด โรงแรม โรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรม และสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ อีกมากมาย พร้อมรับประกัน 1 ปีเต็ม Happy House เราให้บริการในเขตพื้นที่ดังนี้ รับกำจัดปลวก เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และพื้นที่ใกล้เคียง

สอบถามรายละเอียดบริการกำจัดปลวกเพิ่มเติมได้ที่
Web Site :https://www.happyhouse.co.th/
โทร: : 065-648-8828
E-Mail : [email protected]
Facebook Page : HappyHouseCM
Line : @happyhousecm


บทความที่เกี่ยวข้อง