วงจรชีวิตของยุง

วงจรชีวิตของยุง

18 มี.ค. 2566   ผู้เข้าชม 707
วงจรชีวิตของยุง

    ยุงบางชนิดก่อความรำคาญโดยการดูดกินเลือดคนและสัตว์เลี้ยงเป็นอาหารเท่านั้น แต่ก็ มียุงอีกหลายชนิดซึ่งนอกจากจะดูดกินเลือดเป็นอาหารแล้ว ยัง เป็นพาหะนำโรคร้ายแรงต่างๆ มาสู่คนและสัตว์อีกด้วย ซึ่ง นับว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่งการที่จะควบคุมยุงให้ได้ผลดีนั้นจะต้องเรียนรู้ ยุงให้ถ่องแท้ดีเสียก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชีววิทยา ของยุงซึ่งรวมทั้งวงจรชีวิต อุปนิสัยของยุง ถิ่นที่อยู่ และ แหล่งเพาะพันธุ์ซึ่งวงจรชีวิตของยุงมีด้วยกันทั้งหมด 4 ระยะได้แก่ ระยะเป็นไข่ (egg stage) ระยะลูกน้ำ (larva stage)   ระยะตัวโม่ง(pupa stage)  และระยะตัวเต็มวัย (adult stage) 

     ระยะไข่
       ไข่ยุงแต่ละชนิดมีขนาดและลักษณะไม่เหมือนกัน  จากลักษณะการวางไข่อาจบอกชนิดของกลุ่มยุงได้ยุงชอบวางไข่บนผิวน้ำหรือบริเวณชื้น ๆ  เช่น บริเวณขอบภาชนะเหนือระดับน้ำการ       

วางไข่ของยุงแบ่งออกเป็น  4  ประเภท

วางไข่ใบเดี่ยว ๆ  บนผิวน้ำ  เช่น  ยุงก้นปล่อง

วางไข่เป็นแพ  (raft)  บนผิวน้ำ  เช่น  ยุงรำคาญ

วางไข่เดี่ยว ๆ  ตามขอบเหนือระดับน้ำ  เช่น  ยุงลาย

วางไข่ติดกับใบพืชน้ำเป็นกลุ่ม  เช่น  ยุงเสือ  หรือยุงฟิลาเรีย

     ระยะลูกน้ำ 
       ลูกน้ำยุงแต่ละชนิดอาศัยอยูในน้ำต่างชนิดกัน  เช่น  ตามภาชนะขังน้ำต่าง ๆ  ตามบ่อน้ำ หนอง  ลำธาร  โพรงไม้  หรือกาบใบไม้ที่อุ้มน้ำ  เป็นต้น  

     ตัวโม่ง 
       มีลักษณะรูปร่างที่เด่นชัดคือหัวโต ตามปกติจะลอยตัวนิ่งๆ ที่ผิวน้ำ แต่ถ้าถูกรบกวนจะเคลื่อนที่ได้อย่างว่องไว ระยะตัวโม่งนี้จะหยุดกินอาหารและเป็นระยะสุดท้ายที่ใช้ชีวิตอยู่ในน้ำระยะตัวโม่งใช้เวลาประมาณ วัน เพื่อให้ตัวอ่อนที่อยู่ภายในเจริญเติบโตเต็มที่ก่อนที่จะลอกคราบออกมา  เป็นตัวยุงตัวเต็มวัยระยะเวลา เริ่มจากยุงวางไข่จนกระทั่งเจริญจน  ถึงยุงตัวเต็มวัย ในประเทศเขตร้อยชื้นอย่างเช่นประเทศไทยนั้นใช้เวลาประมาณ 10 วันเท่านั้น แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดยุงด้วย

     ตัวเต็มวัย
       เมื่อตัวโม่งเจริญเต็มที่จะลอยนิ่งๆ อยู่กับที่ จากนั้นเปลือกหุ้มบริเวณส่วนหัวของตัวโม่งเริ่มปริออก ตัวยุงที่อยู่ภายในจะค่อยๆ ดันออกมา ขณะที่ตัวยุงโผล่พ้นเปลือกตัวโม่งเกือบหมดเหลือเฉพาะส่วนขา ก็จะเริ่มคลี่ปีกออก เมื่อปลายขาหลุดออกมาหมดแล้วก็จะเกาะอยู่บนผิวน้ำหรือบริเวณใกล้เคียงประมาณ 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้ปีกแข็งแรงพอที่จะบินได้ ตามปกติแล้วยุงตัวผู้ออกมาก่อนยุงตัวเมียและอาศัยบริเวณแหล่งเพาะพันธุ์ตลอดชีวิต กินอาหารพวกน้ำหวานจากพืชโดยไม่กินเลือด ยุงตัวผู้มีอายุสั้นกว่าตัวเมีย ส่วนยุงตัวเมียเมื่อออกมาจากตัวโม่งจะกิน อาหารพวกน้ำหวานจากพืชก่อน เพื่อให้มีพลังงาน จากนั้นก็ผสมพันธุ์โดยยุงตัวเมียผสมพันธุ์ครั้งเดียวเท่านั้นในชีวิตก็สามารถออกไขได้ตลอดไป

 

 

สอบถามรายละเอียดบริการกำจัดปลวกเพิ่มเติมได้ที่
Web Site : https://www.happyhouse.co.th/
โทร: : 065-648-8828
E-Mail : [email protected]
Facebook Page : HappyHouseCM
Line : @happyhousecm


บทความที่เกี่ยวข้อง

สมุนไพรที่ใช่กำจัดปลวกเพื่อความปลอดภัยต่อชีวต
16 ก.พ. 2567

สมุนไพรที่ใช่กำจัดปลวกเพื่อความปลอดภัยต่อชีวต

กำจัดปลวกและแมลง