10เรื่องจริง ของมดแดง

10เรื่องจริง ของมดแดง

18 ก.พ. 2566   ผู้เข้าชม 31

“มดแดง” เชื่อว่าหลายคนคงจะจำความรู้สึกตอนโดนกัดได้เป็นอย่างดี และคงผ่านประสบการณ์การโดนกัดกันมาไม่มากก็น้อยเลยทีเดียว

ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่พิษจากมดแดงจะทำให้ใครต่อใครเจ็บเท่านั้น แต่มดแดงยังสร้างความเสียหายให้กับอาหารของเรา ทั้งยังมีอีก 10 เรื่องราวที่ใครหลายคนยังไม่รู้ต่อไปนี้

  1. มดแดง เป็นมดที่เลือกทำรังบนต้นไม้ โดยส่วนใหญ่จะเป็นต้นที่มีใบขึ้นหนาแน่น เป็นไม้ยืนต้น เช่น ต้นมะม่วง เป็นต้น
  2. ในรังของมดแดงจะมีมดที่เรียกว่า นางพญา หรือ ราชินีมด ซึ่งเปรียบเสมือนผู้นำ คอยวางไข่ บริหารจัดการไข่มด รวมถึงดูแลความเป็นไปของบริวารมดทุกตัวในรัง โดยนางพญามดหรือราชินีมดนี้ จะมีรูปลักษณ์แตกต่างจากมดแดงทั่วไปอย่างชัดเจน
  3. ครอบครัวของมด จะประกอบไปด้วย “มดงาน” ด้วย ซึ่งมดงานจะเป็นเหมือนแรงงานชั้นยอด โดยภายในรังจะมีมดงานหลายระดับ แต่ละระดับจะแบ่งหน้าที่ในการทำงานที่แตกต่างกันออกไป ตั้งแต่หาอาหาร ดูแลราชินีมด และอื่นๆ อีกมากมาย เปรียบเสมือนทีมเวิร์คในองค์กร
  4. มดแดง มักเอาใบ้ไม้แต่ละใบมาประกบติดกันเพื่อสร้างเป็นรังใหญ่ ๆางไร ? เพราะว่า ตัวอ่อนของมด สามารถปล่อยเส้นใยที่มีลักษณะเหนียวๆ ออกมาจากตัวได้ ดังนั้น มดงานที่ทำหน้าที่สร้างรัง จึงใช้เส้นใยจากตัวอ่อนนี้มาประกบใบไม้แต่ละใบให้ติดกัน จนกลายเป็นรังที่แข็งแรง
  5. การสื่อสารระหว่างกันเหมือนกับสัตว์ชนิดอื่นๆ โดยวิธีในการสื่อสารของมดแดงนั้น จะมีทั้งการปล่อยสารฟีโรโมน รวมไปถึงการแสดงท่าทางต่างๆ โดยสัญญาณที่สื่อสารถึงกันเหล่านี้ จะบ่งบอกได้ถึงแหล่งอาหารที่มันพบเจอ รวมถึงศัตรูที่กำลังมาเยือน
  6. ความขยันและความสามัคคีกันของมดแดง เป็นสัตว์ที่รู้จักการวางแผนที่ดี จะเห็นได้ว่า มดแดงจะช่วยกันทำรังสำรองเอาไว้หลายรังเพื่อเอาไว้ใช้ในยามจำเป็นต่าง ๆ ทั้งใช้สำหรับถ่ายเทและจัดสรรจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น หรือเอาไว้หลบซ่อนอาหาร เป็นต้น
  7. สำหรับอาหารของมดแดงนั้น นอกจากน้ำตาลที่มดแดงโปรดปรานเป็นพิเศษแล้ว มดแดงยังกินอาหารอีกหลากหลายชนิดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นพืช ซากแมลงแห้งๆ ที่ตายแล้ว ของเหลวจากแมลง และอื่นๆ อีกมากมาย ไม่เว้นแม้กระทั่งเศษอาหารชิ้นเล็กชิ้นน้อยในบ้าน 
  8. เพลี้ยจะเป็นศัตรูกับพืช แต่สำหรับมดแดงแล้ว เพลี้ยถือเป็นมิตรที่ดีของมดแดงเลยทีเดียว เนื่องจากมดแดงจะเลี้ยงเพลี้ยไว้ เพื่อกินของเหลวหวานๆ ที่เพลี้ยปล่อยออกมานั่นเอง
  9. มดแดงที่เราเห็นว่าไม่มีปีกนั้น จะเป็นมดงานทั่วไป แต่มดแดงที่มีปีกจริงๆ จะได้แก่มดนาง (ตัวเมีย) และมดตัวผู้
  10. พิษของมดแดงจะถูกปล่อยออกมาจากทางปลายท้องหลังจากที่มันทำการกัดเราเรียบร้อยแล้ว ซึ่งใครที่เคยโดนกัดคงจะเกิดอาการแสบๆ คันๆ และเป็นตุ่มแดงไม่น้อยเลยทีเดียว เรียกได้ว่ามดแดงมีพิษสงที่แตกต่างจากขนาดตัวจริงๆ

 

อย่างไรก็ตาม หากมดแดงได้เข้ามาในบ้านของเราก็คงจะไม่ใช่เรื่องดีเท่าไหร่นัก ฉะนั้น นอกจากการป้องกันด้วยการเก็บกวาดเศษอาหารบนพื้นให้เรียบร้อย รวมถึงเก็บอาหารที่ทานไม่หมดเข้าตู้แล้ว ก็ยังสามารถใช้สเปรย์สำหรับแมลง หรือเรียกใช้บริการ บริษัท แฮปปี้ เฮาส์ จำกัด มีบริการฉีดพ่นภายในบ้านที่มีมดแดงอาศัยอยู่ได้เช่นเดียวกัน ติดต่อ 065-6488828


บทความที่เกี่ยวข้อง

เหตุผลที่ควรกำจัดยุง พร้อมวิธีกำจัดยุงแบบปลอดภัย
20 ต.ค. 2566

เหตุผลที่ควรกำจัดยุง พร้อมวิธีกำจัดยุงแบบปลอดภัย

กำจัดปลวกและแมลง