ชนิดหนูที่เป็นศัตรูองมนุษย์

ชนิดหนูที่เป็นศัตรูองมนุษย์

28 ธ.ค. 2566   ผู้เข้าชม 52

ชนิดหนศัตรูของมนุษย์

หนูศัตรูสำคัญในกระบวนการผลิตพืช - สัตว์ในเขตชุมชนและทางสาธารณสุขในประเทศไทย สกลที่สำคัญและพบมากในประเทศไทย มี 3 สกุล คือ สกลหนูพก (Bandicota spp.) สกุลหนูท้องขาว (Rattus spp.) สกลหนูหริ่ง (Mus spp.) และสามารถแบ่งตามแหล่งที่พบอาศัยเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

1. หนูป่าหรือหนูนา (Wild or field rodents)

หนูเหล่านี้พบในธรรมชาติ ในสภาพพื้นที่ป่าท่งหญ้าหรือตามแหล่งที่มีการปลูกพืช กินเมล็ดพืช รากพืช ใบ ผลของพืช แมลง หอย ปู ปลา เป็นต้น เป็นอาหาร หนูหลายชนิดขุดรูอาศัยในดิน เช่น หนีในสกลหนูพก (Bandicota spp.) หนูสกลท้องขาว (Rattus spp.) เป็นต้น บางนิดอาศัยอยู่ตามกอหญ้าหรือขดรูตามรอยแตกของหน้าดิน เช่น หนูหริ่งนา เป็นต้น และบางชนิดอาศัยอยู่ในรังนกเก่าๆ หรือในโพรงต้นไม้ หรือบนต้นไม้ เช่น หนูมือลิง หนูสกลท้องขาว เป็นต้น

2. หนูในแหล่งชุมชนหรือหนูในเมือง (Commensal or domestic rodents)

เป็นหนูที่พบอาศัยอยู่ใกล้ชิดทับมนุษย์มากที่สดในแหล่งชุมชนหรือในเมือง กินอาหารเกือบทุกชนิดที่มนุษย์กินได้และเหลือทิ้ง มีทั้งที่สามารถขุดรูอาศัยในดินหรือหลบซ่อนอยู่ตามที่ต่างๆ ทั้งในบ้านและนอกอาคาร หรือในท่อระบายน้ำ หรือในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หนูเหล่านี้ชอบกัดแทะทำลายของกินและของใช้ต่างๆ ทั้งในบ้านเรือนและอาคารสถานที่ต่าง จึงเป็นตัวการสำคัญในการนำโรคสู่มนุษย์ตลอดจนการเกิดเพลิงไหม้อันเนื่องจากไฟฟ้าลัดวงจร ได้แก่ หนูสกลท้องขาว และหนูสกุลหนูหริ่ง เป็นต้น.

สำหรับการจำแนกชนิดของหนูที่ใช้กันทั่วๆ ไป ได้แก่ ลักษณะกายนอก (external characters) เช่น ขนาด น้ำหนัก ลักษณะของสีขน จำนวนเต้านม (เพศเมีย) และอื่นๆ ลักษณะเหล่านี้จะต้องดูจากหนูที่โตเต็มวันแล้ว ซึ่งการจะรู้ว่าหนูโตเต็มวันหรือไม่ ก็ดูจากอวัยวะเพศ ถ้าเป็นเพศผู้จะเห็นอัณฑะหย่อนลงถุงห้อยบริเวณโคนหาง ส่วนเพศเสียนั้นจะมองเห็นข่องอวัยวะสืบพันธ์เปิดและเห็นเต้านม (mammae) ชัดเจน ส่วนการจำแนกชนิดหนูที่มีลักษณะใกล้เคียงกันในสกุลเดียวกันนั้นจำเป็นต้องศึกษาขนาดและลักษณะสัณฐานวิทยาของกะโหลกศีรษะ ลักษณะและขนาดของฟันแทะ และฟันกราม ตลอดจนพฤติกรรมการดำรงชีวิตของหนูประกอบด้วย

ในประเทศไทยหนูที่พบในเขตเมืองหรือแหล่งชุมชนต่างๆ เป็นหนูสกลท้องขาว มี 3 ชนิดดังนี้ คือ

3. หนูนอรเว (Norway rat, brown rat or habour rat or sewer rat Rattus norvegicus (Berkenhoutf 1769)

Rattus norvegicus

เป็นหนูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกลนี้ กินอาหารได้แก่ประเภท หากมีอาหารดีมากและเพียงพออาจทำให้หนูชนิดนี้มีขนาดใกล้เคียงหนูพก มีน้ำหนักตัวประมาณ 200 - 500 กรัม หนูชนิดนี้มีชื่อเรียกขานหลายชื่อตามแหล่งที่อยู่อาศัยหรือแหล่งที่ออกหากิน เช่น หนูท่อ หนูขยะ หนูท่าเรือ และหนูเลา เป็นต้น ปกติชอบขดรูอาศัยในดินใกล้กองขยะหรือใต้ถุนบ้านหรือสนามบ้าน ที่ปากรูมีขุยดินกองใหญ่คล้ายของหนูนา แต่อาจพบอาศัยในท่อระบายน้ำในแหล่งชมชน ตลาด มีความยาวหัวรวมลำตัวประมาณ 233 มิลลิเมตร หางสั้นกว่ายาวประมาณ 201 มิลลิเมตร และมี 2 สี ด้านบนสีเข้มกว่าด้านล่าง หน้าจะค้านหรือทู่กว่าหนูท้องขาวบ้าน มีตาและใบหูเล็กกว่าเช่นกัน ขนด้านท้องสีเทา ด้านหลังขนสีน้ำตาลหรือสีดำ ตีนหลังใหญ่และมีขนขาวตลอด (44 มิลลิเมตร) เพศเมียมีเต้านม 3 คู่ที่อก และ 3 คู่ที่ท้อง พบทั่วประเทศในเขตเทศบาลเมืองทุกแห่ง อาจพบในพื้นที่ทำการเกษตรที่ติดต่อกับเขตชุมชนใหญ่ๆ เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญหลายชนิดสู่มนุษย์และสัตว์เลี้ยง หนูนอรเวชอบอาศัยใกล้แหล่งน้ำเป็นกลุ่มๆ หนูเพศผู้ที่มีขนาดใหญ่และแข็งแรงมักจะเป็นจ่าฝูง และเลือกที่อยู่และกินอาหารที่ดีที่สุดได้ก่อนและกำหนดเขตถิ่นอยู่อาศัยโดยใช้ปัสสาวะและไขมันจากขน ในแต่ละกลุ่มมีหนูเพศเสียมากก็ว่า 1 ตัว ลูกหนูและอาจมีหนูเพศผู้ตัวอื่นๆ ที่อ่อนแอกว่า เป็นหนูที่มีนิสัยดุร้ายโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการแย่งถิ่นอาศัย อาหาร และหนูเพศเมีย ปกติแล้วหนที่โตเต็มที่จะกินอาหาร 20 - 30 กรัมต่อคืน (ประมาณ 10% ของน้ำหนักตัว) และสามารถเดินทางในแต่ละคืนเป็นระยะทางไกล 2 - 3 กิโลเมตร เพื่อหาอาหาร

 หนูท้องขาวบ้าน (Roof rat or ship rat or house rat Rattus rattus (Iinnaeus, 1758)

Rattus rattus

หนูชนิดนี้มีความหลากหลายในเรื่องของสีขน ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศที่พบ น้ำหนักตัว

เต็มวันอยู่ระหว่าง 90 - 250 กรัม ความยาวหัวรวมลำตัวเท่ากับ 182 มิลลิเมตร ปกติสีขนด้านหลังเป็นสีน้ำตาลและกลางหลังมีขนแข็งสีดำแทรกอยู่ ขนด้านท้องสีขาวครีม บางครั้งมีแถบขนสีน้ำตาลคล้ำยาวจากส่วนคอถึงกลางอก ขนบริเวณตีนหลังส่วนใหญ่ยาวและมีขนดำแทรกปะปนบ้าง หางดำตลอดและมีเกร็ดละเอียดเล็กๆ และยาวกว่าความยาวหัวรวมลำตัว (188 มิลลิเมตร) จมูกแหลม จึงทำให้ส่วนใบหน้าค่อนข้างแหลม ใบหูใหญ่ ตาโต เพศเสียมีเต้านม 2 คู่ที่อก และ3 คู่ที่ท้อง (ในบางแห่ง เพศเสียมีเต้านม 3 คู่ แต่คู่ที่ 3 อยู่ชิดกับคู่ที่ 2 หรือห่างกันน้อยกว่า 1 เซนติเมตร) ปีนป่ายเก่งมาก พบทั่วประเทศ ตามเพดานของบ้านเรือนและอาคารต่าง ๆ ยุ้งฉาง นาข้าว ในสวนผลไม้ มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น ปกติไม่ชอบขดรูอาศัยในดิน มักอาศัยอยู่บนต้นไม้หรือบนที่สูง หรือใต้หลังคาในห้องต่าง ๆ ของอาคารแต่ถ้าขุดรูมักไม่มีขุยดินบริเวณปากรูทางเข้าหรือมีขุยดินน้อยมาก ชอบกินผลไม้ ผักและเมล็ดพืชมากกว่าเนื้อสัตว์

พฤติกรรมการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก พบในหนูชนิดนี้เช่นเดียวกันกับหนูนอรเว หนูท้องขาวบ้านมีขื่อเรียกต่างๆ ตามแหล่งอาศัยเช่นกัน เช่น หนูหลังคา หนูเรือ และหนูบ้าน เป็นต้น หนูชนิดนี้มีรูปร่างที่เพรียวกว่าหนูนอรเว และชอบอาศัยอยู่ในที่แห่งและสูง เช่น ใต้หลังคาบ้านหรือตามขื่อแปของโรงเก็บอาหารสำเร็จรูปต่างๆบนต้นไม้ เป็นต้น ในขณะที่หนูนอรเวชอบอาศัยที่ชื้น เช่น ใต้อาคารหรือขุดรูอยู่บริเวณนอกบ้าน หนูชนิดนี้มีความดร้าย ก้าวร้าวน้อยกว่าหนูนอรเว ปกติแล้ว มักจะละการต่อสู้ด้วยการวิ่งหนีจากไปหรือย้ายแหล่งที่อยู่

 หนูจี๊ด (Polynesian rat or burmese house rat Rattus exulans peal, 1848)

Rattus exulans

เป็นหนูที่มีขนาดเล็กที่สุดในสกล Rattus มีน้ำหนักตัวอยู่ระหว่าง 27 - 60 กรม ความยาวหัวรวมลำตัวเท่าทับ 115 มิลลิเมตร ตาโต ใบหูใหญ่ ตีนหลังยาวประมาณ 23 เซนติเมตร หางยาวกว่าหัวและลำตัวมาก (128 มิลลิเมตร) และมีสีเดียวตลอด ขนด้านหลังมีสีน้ำตาลแก่ ขนด้านท้องสีเทา เพศเสียมีเต้านม 2 คู่บริเวณอกและ 2 คู่ที่บริเวณท้อง ชอบอาศัยในที่แจ้งตามบ้านเรือน โดยเฉพาะ ในห้องครัว ในห้องเก็บของ ในตู้ ลิ้นชัก และยุ้งฉางทั่วประเทศ อาจพบทำลายพืชผลไม้ ในไร่นา ไร่สวนบ้าง ในหมู่บ้านที่ติดกับพื้นที่ทำการเกษตร เช่นเดียวกันกับหนูนอรเว หนูชนิดนี้กินอาหารได้เกือบทกประเภท

วิธีการควบคมหนู

แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

1 . การลดจำนวนหนู (Rodent reductionได้แก่

1.1 การใช้กับดัก กรงดัก กาวดัก เป็นต้น

1.2 การปรับปรุงสภาพแวดล้อมตามแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์ โดยใช้หลักการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี เน้นการรักการความสะอาดบ้านเรือนและแหล่งชุมชน โดยการเก็บขยะมูลฝอยที่มิดชิด และการกำจัดขยะที่ถูกต้อง เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดปัจจัยพื้นฐานที่หนูต้องการเพื่อการดำรงชีวิต

1.3 การใช้ศัตรูธรรมชาติของหนู เช่น นกแสก งู แมว เป็นต้น และเชื้อโรค

1.4 การใช้วัตถุอันตรายที่สังเคราะห์ หรือสารสกัดจากพืช เช่น สารรม สารกำจัด

2. การกั้นหนูมิให้เข้ามายังอาคาร โรงเก็บ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ (Rodent exclusion)

2.1การใช้วัสดุที่แข็ง เช่น แผ่นสังกะสีหรือแสตนเลส ตาข่ายเหล็กหรือตาข่ายลวดที่ #½ เซนติเมตร กั้นไม่ให้หนเข้าสู่อาคารบ้านเรือน

2.2 การก่อสร้างอาคารที่มีที่กั้นหนูหรือติดตั้งอุปกรณ์เสริมอื่นๆที่ป้องกันหนูเข้ามาได้

2.3 การไล่หนีออกจากบริเวณที่ต้องการควบคุม เช่น ใช้เครื่องกำเนิดคลื่นเสียงอัลตราซาวด์และสารไล่หนู เป็นต้น 

3. การจัดการหนู

เป็นที่ปราบกันโดยทั่วไปแล้วว่าหนูเป็นสัตว์ที่ฉลาด สามารถหลบเลี่ยงหรือหลบหลีกการปฏิบัติของมนุษย์ที่ใช้ควบคุมและลดปริมาณหนู การควบคุมและกำจัดหนูจึงต้องใช้วิธีการหลายๆ วิธีไปพร้อมๆ กันจึงจะประสบความสำเร็จ การจดการหนู (rat management) จึงควรนำมาใช้เป็นยุทธวิธีในการควบคุมหนู ซึ่งถือว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าวิธีอื่นใด โดยมีขั้นตอน ดังนี้

3.1 การสำรวจปริมาณหนูจากร่องรอยหนูและประเมินปัญหาหนีในพื้นที่ ตลอดจนการทำแผนทีสภาพพื้นทีทีต้องการควบคมหนูและวางแผนการปฏิบัติงาน ตามตัวอย่างใน เอกสารหมายเลข 1

3.2 การสำรวจร่องรอยหนู

มีความสำคัญและจำเป็นต่อการป้องกันและกำจัดหนูเพราะช่วยให้ทราบว่ามีหนูอยู่บริเวณนั้นมากน้อยเพียงใด ร่องรอยหนูที่สามารถสังเกตได้มีดังนี้

รอย กัด แทะ

เนื่องจากหนูมีนิสัยชอบกัดแทะเพื่อกินอาหารหรือของใช้ต่างๆ หากเราพบรอยกัดแทะใหม่ๆ สามารถบอกได้ว่าที่นั้นมีหนูอยู่และอาจบอกถึงขนาดของหนูที่มีอยู่ได้ว่า เป็นหนูตัวเล็กหรือตัวใหญ่จากขนาดของร่องรอยกัดแทะนั้น

โพรงหรือรูหนู

แหล่งอาศัยหรือที่หลบซ่อนของหนูบ้านแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน เข่น หนูนอรเว ชอบอาศัยในโพรงใต้พื้นบ้านหรืออาคารที่มืดและชื้น หรือในท่อระบายน้ำเสีย หรือขุดรูลงดินและบริเวณปากรูมีขุยดินก้อนเล็กๆ กองอยู่ ส่วนหนูท้องขาวมักชอบอาศัยใต้ฝ้าเพดานอาคารหรือใต้กองไม้หรือทางใบพืช สำหรับหนูจี๊ดชอบอยู่อาศัยตามลิ้นชักตู้ ในห้องครัวหรือในตู้เก็บของ

รอยทางเดิน

หนูใช้เส้นทางเดิมเวลาออกหากิน ถ้ามีหนูอยู่บริเวณนั้นจะพบผิวดินบริเวณนั้นเป็นทางราบเรียบ ไม่มีต้นหญ้าขึ้น หรือตามฝาผนัง กำแพงจะมีรอยคราบสกปรกดำและมีขนของหนูติดอยู่ หากทางนั้นใช้นานจะมองเห็นขัดเจน

สังเกตจากมูลหนูของหนูชนิดต่างๆ

มูลของหนูใหม่ๆ จะเปียก นุ่มเหนียว เป็นมัน เวลากดจะเปลี่ยนรูปได้ง่าย หากพบในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง เป็นตัวบ่งชี้การมีอยู่ของหนูในช่วงเวลานั้น ๆ และอาจใช้แบ่งชนิดหนูได้ อย่างเช่น มูลของหนูนอรเว มีขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายแคปซูลยา หัวท้ายมนยาว 12 – 15 มิลลิเมตร สีดำมัน ส่วนมูลของหนูท้องขาวบ้าน มีขนาดเล็กและแห้งกว่า รูปร่างคล้ายกระสวย ยาว 10 – 12 มิลลิเมตร ในขณะที่มูลของหนูจี๊ด รูปร่างคล้ายมูลหนูท้องขาวบ้านแต่มีขนาดเล็ก ยาว 6 – 8 มิลลิเมตร เป็นต้น สำหรับบริเวณที่พบมูลหนูมักพบคราบปัสสาวะของหนูบนกองกระสอบอาหารหรือบริเวณที่หนูกินอาหารด้วย

ลักษณะอื่นๆ

สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้การมีอยู่ของหนูในบริเวณนั้นได้ด้วย เช่น เสียงร้อง เสียงวิ่ง กลิ่นสาบ ซากหนู รอยตีนหนู เป็นต้น

4.การควบคุมหนูหรือการป้องกันกำจัดหนูโดยวิธีต่าง ๆ

4.1 การควบคุมโดยวิธีสุขวิทยาและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม

(1) การปรับปรุงสภาพแวดล้อมตามแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์ โดยใช้หลักการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี ที่เน้นการรักษาความสะอาดบ้านเรือนแหล่งชมชน การเก็บขยะมูลฝอยที่มิดชิดและการกำจัดขยะที่ถูกต้องเพื่อลดปัจจัยพื้นฐานที่หนูต้องการเพื่อการดำรงชีวิต เช่น อาหาร น้ำและที่อยู่อาศัย เป็นต้น ซึ่งจะลดปริมาณหนูและการแพร่เชื้อโรคสู่สัตว์เลี้ยงและมนุษย์ลงได้ สำหรับในโรงเรือนที่เก็บผลผลิตการเกษตร อาหารและสินค้าอุปโภคชนิดต่างๆ ควรมีการจัดเก็บวางสินค้าเหล่านี้บนชั้นวางของอย่างเป็นระเบียบหรือวางกระสอบผลผลิตการเกษตรบนชั้นไม้หรือพลาสติก (pallette) และอยู่สูงจากพื้นซีเมนต์ประมาณ 30 เซนติเมตร และวางห่างจากฝาผนังห้องประมาณ 0.5 - 1 เมตร

(2) การควบคุมแหล่งที่อยู่อาศัยของหนู

- มีการจัดเก็บอาหาร สินค้า สิ่งของและวัสดุต่างๆ อย่างเป็นระเบียบและถูกต้องตามหลักสุขอนามัยที่ดี การจัดระเบียบและทำความสะอาดภายในอาคารอย่างสม่ำเสมอจะช่วยในการลดที่อยู่อาศัยของหนูได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- การกำจัดรูหนูหรือแหล่งที่อยู่อาศัยของหนูทั้งภายนอกและภายในอาคารจะช่วยลดปริมาณหนูได้เช่นกัน

- บริเวณรอบๆ ตัวอาคาร จะต้องเข้าถึงได้ทุกจดไม่มีบริเวณที่เป็นมุมอับที่หนูจะเข้ามาหลบซ่อนได้

(3) การป้องกันไม่ให้หนูเข้าตัวอาคาร

- ก่อนการสรางอาคารจะต้องมีการออกแบบด้วยตัวอาคารที่สามารถป้องกันไม่ให้หนูเข้ามาในตัวอาคารได้ อาคารสมัยใหม่จึงต้องมีการออกแบบโครงสร้างตัวอาคารที่สามารถป้องกันการเข้ามาในตัวอาคารของหนู ซึ่งจะต้องเป็นอาคารที่สร้างมิดชิด ทางเข้าทุกทางจะมีการป้องกันไม่ให้หนูเข้าไปได้

- สำหรับอาคารเก่าที่ไม่มีการวางแผนป้องกันการเข้ามาของหนูต้องทำการปิดทางเข้าทุกทางที่หนูสามารถเข้าไปในตัวอาคารได้ โดยใช้กรวยสังกะสีหรือแผ่นอลูมิเนียมเรียบครอบเสาโรงเรือนและยุ้งฉาง ใช้แผ่นสแตนเลส หรือ ลวดตาข่ายปิดทางเข้าของหนู จะป้องกันมิให้หนูปืนขึ้น และเข้าไปในตัวอาคารได้ นอกจากนั้นการใช้แผ่นสังกะสีตีตามประตูทางเข้ายุ้งฉาง โรงเก็บ หรือทางเข้าอาคารจะสามารถป้องกันมิให้หนูแทะประตูผ่านเข้ามาได้

- การกั้นหนูมิให้เข้ามายังบริเวณที่ต้องการ (Rodent exclusion) เช่น ใช้กรวยสังกะสีหรือแผ่นอลูมิเนียมเรียบครอบเสาโรงเรือนและยุ้งฉางหรือเสาบ้านที่ยกใต้ถุนเรือนใช้ลวดตาข่ายแสตนเลวหรือปวดตาข่ายเหล็กชุบสังกะสีที่มีตาข่ายขนาด # 0.5 เซนติเมตร ปิดกั้นตามช่องระบายลมของยุ้งฉางหรือโรงเก็บ จะป้องกันมิให้หนูปีนป่ายขึ้นและเข้าไปในโรงเรือน นอกจากนี้การใช้แผ่นสังกะสีตีตามทางเข้ายุ้งฉางหรือโรงเก็บหรือทางเข้าประตูบ้านยังช่วยป้องกันมิให้หนูกัดแทะผ่านเข้ามาได้ เป็นต้น

4.2การควบคุมและลดจำนวนหนู โดยวิธีชีวภาพ (biological control)

คือการใช้ศัตรูธรรมชาติของหนูที่มีศักยภาพสูงเพื่อควบคุมประชากรหนูในระดับหนึ่ง ได้แก่ การใช้สัตว์ผู้ล่าหนูเป็นอาหาร เช่น นกแสก งู พังพอน แมว เป็นต้น และการใช้ปรสิต (parasite) หรือเชื้อโรคที่มีความจำเพาะต่อหนู เช่น การใช้เหยื่อโปรโตซัว sarcocystis singaporensis กำจัดหนู เป็นต้น การควบคุมหนูวิธีนี้เหมาะที่จะใช้ช่วยรักษาความสมดุลของประชากรหนูที่ไม่สูงมากนัก และถ้าใช้ร่วมกับวิธีการป้องกันกำจัดหนูวิธีอื่นๆ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมหนูได้ดียิ่งขึ้น และเป็นเวลานานขึ้น

4.3การลดจำนวนหนูโดยวิธีกล

เช่น ใช้กับดัก กรงดัก กาวดัก เป็นต้น

4.4 การไล่หนีโดยวิธีกายภาพ

การไล่หนีโดยวิธีทางฟิสิกส์ (physical control) การไล่หนออกจากบริเวณที่ต้องการควบคุมโดยใช้เครื่องกำเนิดคลื่นเสียงอัลตราซาวด์หรือคลื่นเสียงแบบอื่นๆ

4.5 การควบคุมหนูโดยการใช้สารเคมี

(1) การลดจำนวนหนู

- โดยการใช้วัตถุอันตรายที่สังเคราะห์หรือสารสกัดจากพืช

- การใช้สารรม (fumigants) วิธีการนี้เหมาะที่ใช้ในบริเวณที่มีที่ปิดมิดชิด เช่น ยุ้งฉาง โกดังเก็บสินค้าและของเหลือใช้ที่เก็บของในเรือบรรจุสินค้า สารรมที่ใช้รมหนู ได้แก่ สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (sulphur dioxide) เมทธิลโบรมด (methyl bromide) อลูมิเนียมฟอสฟินด์ (alluminium phosphine) เป็นต้น อย่างไรก็ตามไม่ขอแนะนำวิธีดังกล่าวนี้หากเป็นการใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข

- การใช้สารกำจัดหนู (rodenticides) สารกำจัดหนู ถ้าแบ่งตามระยะเวลาการออกฤทธิ์ในการฆ่าหนู มี 2 ประเภท คือ

การกำจัดหนูประเภทออกฤทธิ์เร็ว (acute poisoned rodenticides, single dose rodenticides) เป็นสารที่ออกฤทธิ์เฉียบพลันทันที เมื่อหนูได้รับสารนี้เข้าไปเพียงครั้งเดียว (single dose) หรือช่วงระยะเวลาสั้น สารดังกล่าวนี้จะไปออกฤทธิ์ทำลายระบบประสาททำให้หนูเป็นอัมพาตและตายในที่สุด นอกจากนั้นยังไปทำลาย ตับ ไต ระบบหัวใจ ทำให้หัวใจล้มเหลวหรืออัมพาต หนูจะตายภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมง ถึง 1 วัน สารประเภทนี้มักใช้ในอัตราความเข้มข้นที่สูง เช่น ซิงค์ฟอสไฟด์ 0.8 – 1% เป็นต้น อย่างไรก็ตามสารดังกล่าวนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 คือห้ามมิให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออกหรือการมีไว้ครอบครอง

สารกำจัดหนูประเภทออกฤทธิ์ช้า (chronic poisoned rodenticides, slow acting posioned rodenticides, multiple dose rodenticides หรือ anticoagulant rodenticdes) เป็นสารที่หนูจะต้องกินติดต่อกันช่วงระยะเวลาหนึ่งหรือกินครั้งเดียวและสะสมพิษในร่างกายถึงปริมาณเพียงพอที่จะออกฤทธิ์ทำให้หนูตายโดยเกิดอาการเลือดไม่แข็งตัว (anticoagulant) เลือดจะออกทางช่องเปิดของร่างกาย ตามบาดแผล เลือดคั่งในอวัยวะต่างๆ ของร่างกายและถึงตายในที่สุดภายในระยะเวลา 3 - 15 วัน เป็นเหยื่อพิษสำเร็จรูปที่มีอัตราความเข้มข้นของสารออกฤทธิ์ ตั้งแต่ 0.0025% - 0.005% แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ

กลุ่มที่ 1 ผลิตขึ้นเพื่อใช้ทดแทนสารกำจัดหนูประเภทออกฤทธิ์เร็ว และสามารถแก้ปัญหาการเข็ดขยาดต่อเหยื่อพิษ (bait shyness) เพราะสัตว์จะไม่แสดงอาการป่วยกะทันหัน อาการพิษที่ เกิดขึ้นไม่เหมือนกันและต้องใช้เวลานานหลังจากกินเหยื่อพิษเข้าไปแล้ว ถ้าไม่กินถึงปริมาณที่ทำให้ตายสัตว์จะยังคงกินเหยื่อได้อีกต่อไป แต่ผลเสียที่ติดตามคือเหยื่อสามารถสร้างความต้านทานได้เพราะหนูต้องกินเหยื่อพิษหลายวัน เพื่อสะสมพิษให้ถึงปริมาณที่ทำให้หนูตาย เช่น วอร์ฟาริน หนูนอรเว ต้องกินวอร์ฟาริน ถึง 6 วันจึงจะตาย และในปี 1958 มีรายงานความต้านทานของหนูหริ่งบ้าน (Mus musculus) และหนูนอรเว (Rattus norveg11cus) ต่อสารวอร์ฟารินในหลายท้องที่ทั้งในประเทศสก๊อตแลนด์ อังกฤษ ฝรั่งเศส เดนมาร์ค หลายประเทศในทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกาจึงได้มีการวิจัยพัฒนาและผลิตสารกำจัดหนูประเภทออกฤทธิ์ช้ากลุ่มนี้อีกหลายชนิด เช่น ฟูมาริน (fumarin) คูมาคลอ (coumachlor) คูมาเตดตระลิล (coumatetralyl) โดยเฉพาะสาร coumatetraly มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันแต่มีพิษมากกว่า จึงถูกนำมาใช้กำจัดหนูที่ต้านทานต่อวอร์ฟาริน และยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน

กลุ่มที่ 2 เป็นสารกำจัดหนูประเภทออกฤทธิ์ช้าที่มีการพัฒนาและผลิตขึ้นมาใช้เพื่อใช้กับหนูและสัตว์ฟันแทะที่ต้านทานต่อวอร์ฟาริน สารกลุ่มนี้มีความเป็นพิษมากกว่าสารกำจัดหนูกลุ่มออกฤทธิ์ช้าในกลุ่มแรก สามารถเอาชนะปัญหาความต้านทานของหนูและสัตว์ฟันแทะได้ เช่น ไดเฟนาคูม (difenacoum) โบรไดฟาคูม (brodifacoum) โบรมาดิโอโลน (bromadiolone) โฟลคูมาเฟน (flocoumafen) ไดเฟทิโอโลน (difeths1alone) ทั้ง 5 ชนิดนี้ เป็นกลุ่มสารที่มีความเป็นพิษคล้ายคลึงกับสารกำจัดหนูประเภทออกฤทธิ์ช้าอื่นๆ แต่เป็นสารกำจัดหนูที่กินเพียงครั้งเดียวก็ถึงตาย (single dose rodenticides หรือ one feed kill) มีความเป็นพิษสูงต่อสัตว์ที่ล่าหนูเป็นอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อนก

2.การขับไล่หนูออกจากพื้นที่หรือไม่ให้กัดทำลายสิ่งของ ได้แก่

การใช้สารไล่หนู (Repellent) เพื่อป้องกันการทำลายสิ่งของและวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ที่เก็บไว้ หรือผลิตผลที่เก็บไว้ หรือการปนเปื้อนจากหนู หรือป้องกันหนูเข้ากัดแทะเมล็ดพืชที่ปลูก เช่น การใช้ endrin, cerasan, mestranol เป็นต้น นอกจากนี้การใช้ AlaLpha-naphthylthiorea คลุกเมล็ดสน (conifer seed) ยังช่วยไล่หนีและกระรอกไม่ให้เข้ามากัดแทะเมล็ดได้ สารไล่หนีที่ผู้ผลิตสายไฟฟ้านิยมใช้กับสายไฟที่เก็บไว้ในโกดังป้องกันการกัดแทะของหนูชั่วคราว 

การประเมินผลก่อนและหลังการดำเนินการการป้องกันและกำจัดหนู โดยการสำรวจร่องรอยของหนู และนำมาวิเคราะห์เพื่อใช้แสดงผลเปรียบเทียบในเชิงรูปภาพ ตลอดจนการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนในการดำเนินการป้องกันกำจัด

การสำรวจร่องรอยหนูอย่างสม่ำเสมอและควรทำการควบคุมหนูอย่างน้อยทุก 3 - 6 เดือน

 

ขั้นตอนการให้บริการ Happy House กำจัดหนู เชียงใหม่

 

ให้คำปรึกษาและแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับบริการกำจัดหนู
ตรวจสอบและสำรวจหน้างาน เพื่อนำมาวิเคราะห์และประเมินราคา
ออกใบเสนอราคาการให้บริการกำจัดหนู
ลูกค้ายินยอมและเซ็นสัญญาการให้บริการ
ดำเนินการกำจัดหนูโดยทีมงานมืออาชีพ
ลูกค้าตรวจสอบความเรียบร้อยพื้นที่หน้างาน ก่อนส่งมอบ
ส่งมอบงานให้แก่ลูกค้า

 

 

 

สำหรับลูกค้าท่านใดที่กำลังประสบปัญหาปลวก มด เเมลงสาบ หนู งู Happy House รับกำจัดปลวก เชียงใหม่ พร้อมยินดีให้บริการคุณอย่างครบวงจร โดยทีมงานคุณภาพที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน คอยให้บริการตรวจเช็ก ประเมินราคา และให้คำปรึกษาฟรี! เพื่อแก้ไขปัญหาให้ถูกจุดและทันท่วงที ทั้งบ้านพักอาศัย หอพัก คอนโด โรงแรม โรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรม และสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ อีกมากมาย พร้อมรับประกัน 1 ปีเต็ม Happy House เราให้บริการในเขตพื้นที่ดังนี้ รับกำจัดปลวก เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และพื้นที่ใกล้เคียง


สอบถามรายละเอียดบริการกำจัดเเมลงสาบเพิ่มเติมได้ที่
Web Site :https://www.happyhouse.co.th/
โทร: : 065-648-8828
E-Mail : [email protected]
Facebook Page : HappyHouseCM
Line : @happyhousecm

 

 

 


บทความที่เกี่ยวข้อง

Happy Houses บริการกำจัดแมลงครบวงจร – ปลอดภัย มั่นใจได้
12 ก.ย. 2567

Happy Houses บริการกำจัดแมลงครบวงจร – ปลอดภัย มั่นใจได้

กำจัดปลวกและแมลง
กันไว้ก่อนปลวกบุกบ้าน แนวทางป้องกันปลวกทำลายบ้าน
08 พ.ค. 2567

กันไว้ก่อนปลวกบุกบ้าน แนวทางป้องกันปลวกทำลายบ้าน

กำจัดปลวกและแมลง