โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya) หรือที่เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า โรคไข้ปวดข้อยุงลาย ซึ่งคำว่า ชิคุนกุนยา เป็นภาษาถิ่นแอฟริกาที่แปลว่า อาการงอตัว เพราะผู้ที่ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่จะมีอาการเจ็บปวดบริเวณข้อต่ออย่างมากจนตัวบิดงอนั่นเอง
โดยผู้ที่ป่วยเป็นโรคชิคุนกุนยานั้น ก็เกิดจากการที่ร่างกายมีการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา หรือตัวย่อคือ CHIK V โดยมีพาหะที่นำเชื้อโรคนี้มาติดสู่คนนั่นก็คือ ยุงลาย ทั้งชนิดยุงลายสวนและยุงลายบ้าน โดยมักจะระบาดหนักในช่วงฤดูฝน เพราะเป็นช่วงที่มีน้ำท่วมขังในจุดต่าง ๆ ซึ่งเป็นแหล่งที่ยุงสามารถวางไข่และเพาะพันธุ์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งหากไม่ได้หาวิธีกำจัดยุงในแหล่งน้ำต่าง ๆ หลังจากที่ยุงลายวางไข่ภายใน 7-10 วัน ก็จะทำให้ไข่และลูกน้ำเปลี่ยนมาเป็นยุงลาย ที่มีลักษณะลำตัวและขาเป็นสีขาวสลับดำ พร้อมที่จะออกหากินเลือดในช่วงเวลากลางวัน ต่างจากยุงรำคาญที่จะหากินในเวลากลางคืน
โดยลักษณะของการติดต่อของโรคชิคุนกุนยาที่มียุงเป็นพาหะนี้ก็คือ เมื่อยุงไปกัดคนที่มีไข้หรือมีเชื้อโรคอยู่ ก็จะเป็นการทำให้ไวรัสเข้าสู่ตัวยุง จากนั้นไวรัสก็จะเกิดการแบ่งตัวและเพิ่มจำนวน โดยจะกักเก็บอยู่ในต่อมน้ำลายของยุง สุดท้ายเมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสดังกล่าวไปกัดคนอื่น ตัวเชื้อไวรัสจากยุงก็จะเข้าสู่ตัวคนคนนั้นในระบบกระแสเลือดจนเกิดการติดเชื้อและป่วยเป็นโรค ซึ่งเหล่านี้เป็นวงจรของการแพร่เชื้อและระบาดของโรคชิคุนกุนยานั่นเอง
สำหรับอาการของผู้ที่ป่วยเป็นโรคชิคุนกุนยานั้น เบื้องต้นเมื่อเชื้อไวรัสโรคชิคุนกุนยาเข้าสู่ร่างกายของคนแล้ว ก็จะมีระยะฟักตัวในช่วงเวลาตั้งแต่ 1 ถึง 12 วัน แต่โดยส่วนใหญ่จะแสดงอาการออกมาในช่วงเวลาหลังจากที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายไปแล้ว 3 ถึง 7 วัน
โดยอาการของโรคชิคุนกุนยาจะมีหลากหลายรูปแบบ แต่โดยรวมก็จะแสดงอาการออกมา ตัวอย่างเช่น มีอาการไข้ขึ้นสูงมากกว่า 39 องศาเซลเซียส แบบเฉียบพลัน รู้สึกปวดศีรษะ ปวดตา อาจมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนร่วมด้วย รวมถึงรู้สึกปวดตามกล้ามเนื้อและข้อต่อ ตั้งแต่ข้อต่อเล็ก ๆ อย่างเช่น ข้อนิ้วมือและเท้า ไปจนถึงข้อใหญ่ ๆ ทั้งข้อมือ ข้อเท้า หัวเข่า เป็นต้น นอกจากนี้ก็อาจมีผื่นแดงขึ้นตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ลำตัว แขน และขา คล้ายกับโรคไข้เลือดออก เป็นต้น
แต่แม้ว่าโรคชิคุนกุนยาจะเกิดจากยุงลายที่เป็นพาหะของโรคเหมือนกันกับโรคไข้เลือดออก แต่ก็ไม่ได้ส่งผลร้ายแรงเท่า เพราะไวรัสชิคุนกุนยาจะไม่ส่งผลให้พลาสม่ารั่วออกจากเส้นเลือด จึงไม่ทำให้ความดันโลหิตต่ำและเกิดอาการช็อกเหมือนกับไข้เลือดออก แต่อย่างไรก็ตามยังมีอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยา ที่สร้างความเจ็บปวดมากกว่าโรคไข้เลือดออก และอาจจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในระยะยาวได้ นั่นก็คือ อาการปวดข้อจากการเป็นโรคชิคุนกุนยานั้น อาจจะยังคงอยู่และแสดงอาการปวดหลังจากไข้ลดไปได้อีก 5-7 วัน แต่ในบางรายอาจมีอาการยาวนานอย่างต่อเนื่องเป็นเดือน หรือเป็นปีเลยทีเดียว
สำหรับวิธีการรักษาโรคชิคุนกุนยา ในปัจจุบันทางการแพทย์ก็ยังไม่มียาที่จะทำลายเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้โดยตรง แต่จะใช้วิธีรักษาผู้ป่วยตามอาการที่แสดง อย่างเช่น การให้ยาพาราเซตามอล เพื่อช่วยลดไข้และบรรเทาอาการปวด รวมถึงอาจมีการใช้ยาที่ช่วยรักษาอาการอักเสบของข้อต่อที่ปวด ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาโรคมาลาเรียหรือโรคไข้จับสั่นร่วมด้วยได้ แต่จะไม่ใช้ยาแก้ปวดในกลุ่ม NSAIDs เช่น ยาแอสไพริน หรือยาไอบูโพรเฟน เพราะยาเหล่านี้จะไปกระตุ้นและเพิ่มโอกาสที่จะทำให้เลือดออกตามบริเวณเนื้อเยื่อและอวัยวะภายในต่าง ๆ มากยิ่งขึ้นได้ โดยจะรักษาด้วยการให้ยา ควบคู่ไปกับการให้ผู้ป่วยพักผ่อนและดื่มน้ำมาก ๆ ตลอดจนต้องมีการเฝ้าระวังโรคและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วย
อีกหนึ่งสิ่งสำคัญในการจัดการโรคชิคุนกุนยาได้ดี ก็คือ การกำจัดต้นตอของโรคนี้ก่อนที่จะเกิดขึ้น ทั้งการป้องกันที่ตัวเราคือ พยายามไม่ให้ยุงกัด โดยเฉพาะในแหล่งที่มียุงลายชุกชุม หากจำเป็นต้องเข้าไปในบริเวณนั้น อาจต้องใส่เสื้อและกางเกงที่ปกปิดร่างกายมิดชิด ใช้โลชั่นหรือสเปรย์ไล่ยุงฉีดป้องกันตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงการป้องกันยุงลายในบ้านและที่อยู่อาศัย ด้วยการติดตั้งมุ้งลวด หรือกางมุ้งให้กับเด็กเล็กเวลานอน
รวมถึงอีกวิธีสำคัญ นั่นก็คือการหาวิธีกำจัดยุงที่ต้นเหตุ โดยเฉพาะจุดที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ทั้งการจัดเก็บบ้านให้สะอาด มีพื้นที่โล่ง โปร่ง ไม่มืดและอับทึบซึ่งยุงจะชอบพื้นที่ลักษณะนี้เป็นพิเศษ รวมถึงการจัดการกับภาชนะที่จะเป็นแหล่งน้ำนิ่ง ทั้งการหาฝามาปิดภาชนะ หรือใส่ทรายอะเบทเพื่อกำจัดยุงที่มีการวางไข่กระจายพันธุ์ และลูกน้ำตัวอ่อนที่อยู่ในแหล่งน้ำนั้น ๆ ด้วย
สุดท้ายแล้ว โรคชิคุนกุนยา ก็เป็นอีกโรคที่ไม่ว่าใครก็ไม่อยากป่วยด้วยโรคนี้ เพราะนอกจากจะทำให้เกิดอาการไข้ไม่สบายตัวแล้ว ยังสร้างความเจ็บปวดที่อาจต่อเนื่องเรื้อรังยาวนาน จนทำให้การใช้ชีวิตประจำวันยากลำบากได้ เราจึงจำเป็นต้องระมัดระวังตัวเอง และหาวิธีกำจัดยุงอันเป็นพาหะของโรคนี้อย่างจริงจัง
เพราะนอกเหนือจากวิธีกำจัดยุงด้วยการตัดวงจรชีวิตของยุง ผ่านการทำลายแหล่งน้ำนิ่งซึ่งเป็นแหล่งวางไข่ของยุง เพื่อลดโอกาสในการเพาะพันธุ์ และลดโอกาสที่ลูกน้ำจะเติบโตเป็นยุงแล้วนั้น ยังมีวิธีในการจัดการกำจัดยุงด้วยการใช้สารเคมีกำจัดยุงที่มีประสิทธิภาพ ด้วยวิธีการนำมาฉีดพ่นและเคลือบตามบริเวณพื้นผิวต่าง ๆ โดยเฉพาะผนัง ซึ่งจะช่วยป้องกันยุงที่โตเต็มวัยไม่ให้บินเข้ามากัดและดูดเลือดจากผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านได้ ยิ่งถ้าหากใช้วิธีการกำจัดยุงร่วมกับการป้องกันตัวเอง และการดูแลรักษาความสะอาดเรียบร้อยของมุมต่าง ๆ ในบ้านและที่อยู่อาศัยด้วยแล้ว ก็จะยิ่งทำให้การกำจัดยุงได้ผลดีมากยิ่งขึ้น ลดโอกาสที่จะเกิดโรคชิคุนกุนยา รวมถึงโรคอื่น ๆ ที่มียุงเป็นพาหะนำโรคให้ลดน้อยลง หรือไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เลย
บริการพ่นป้องกันยุง เพื่อลดความเสี่ยงพาหะนำโรคร้าย โดยใช้สารเคมีควบคู่กับสารสกัดจากธรรมชาติ มีความปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง 100% และสามารถกำจัดยุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ให้คำปรึกษาและแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับบริการกำจัดมด | |
ตรวจสอบและสำรวจหน้างาน เพื่อนำมาวิเคราะห์และประเมินราคา | |
ออกใบเสนอราคาการให้บริการกำจัดมด | |
ลูกค้ายินยอมและเซ็นสัญญาการให้บริการ | |
ดำเนินการกำจัดหนูโดยทีมงานมืออาชีพ | |
ลูกค้าตรวจสอบความเรียบร้อยพื้นที่หน้างาน ก่อนส่งมอบ | |
ส่งมอบงานให้แก่ลูกค้า |
สำหรับลูกค้าท่านใดที่กำลังประสบปัญหาปลวก มด เเมลงสาบ หนู งู Happy House รับกำจัดปลวก เชียงใหม่ พร้อมยินดีให้บริการคุณอย่างครบวงจร โดยทีมงานคุณภาพที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน คอยให้บริการตรวจเช็ก ประเมินราคา และให้คำปรึกษาฟรี! เพื่อแก้ไขปัญหาให้ถูกจุดและทันท่วงที ทั้งบ้านพักอาศัย หอพัก คอนโด โรงแรม โรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรม และสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ อีกมากมาย พร้อมรับประกัน 1 ปีเต็ม Happy House เราให้บริการในเขตพื้นที่ดังนี้ รับกำจัดปลวก เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และพื้นที่ใกล้เคียง
สอบถามรายละเอียดบริการกำจัดเเมลงสาบเพิ่มเติมได้ที่
Web Site :https://www.happyhouse.co.th/
โทร: : 065-648-8828
E-Mail : [email protected]
Facebook Page : HappyHouseCM
Line : @happyhousecm