มูลของเจ้าหนู

มูลของเจ้าหนู

18 พ.ย. 2566   ผู้เข้าชม 45

มูลของเจ้าหนูมีเชื้อโรคอะไรบ้างที่ซ่อนอยู่?

หลายบ้านอาจประสบพบเจอกับปัญหาจากหนู สัตว์กัดแทะที่มาสร้างความวุ่นวายให้กับบ้านเรือน นอกจากจะทำลายข้าวของแล้ว เจ้าหนูสกปรกยังสร้างความเดือดร้อนอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นสาปสาง และพาหะนำโรคร้ายต่าง ๆ มากมายอีกด้วย หลายคนอาจจะพอรู้บ้างว่าเจ้าหนูเป็นพาหะนำโรคร้าย ซึ่งวันนี้เราก็ได้รวบรวมโรคร้ายที่มากับหนู เพื่อให้ทุกคนตระหนักและใส่ใจกำจัดหนูให้หมดไปจากบ้านเรากัน

โรคร้ายที่มากับหนู

 


โรคร้าย อันตรายที่มาจากหนู

เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเลปโตสไปรา (Leptospira) สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับคนและสัตว์ โดยมีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นพาหะนำโรค เช่น วัว ควาย ม้า สุนัข และหนู โดยการแพร่เชื้อสู่คนเกิดจากการสัมผัสปัสสาวะหรือสารคัดหลั่งของสัตว์ที่ติดเชื้อ รวมทั้งการสัมผัสกับน้ำ ดิน หรืออาหารที่ปนเปื้อนปัสสาวะของสัตว์ติดเชื้อ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะมีอาการป่วยแตกต่างกันไป เช่น มีไข้ ปวดหัว หนาวสั่น ปวดตามกล้ามเนื้อ อาเจียน ตัวเหลือง ตาแดง ปวดท้อง ท้องเสีย มีผื่นขึ้นตามร่างกาย และผู้ป่วยบางรายก็อาจไม่มีอาการใด ๆ ปรากฏให้เห็น อย่างไรก็ตาม ผู้ติดเชื้อจากโรคฉี่หนูที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจมีอาการรุนแรงขึ้นจนทำให้ตับและไตเกิดความเสียหาย ตับวาย หายใจลำบาก เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

  • โรคติดเชื้อไวรัสฮันตา (Hantavirus) 

เกิดจากการติดเชื้อไวรัสฮันตาที่พบในสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู กระรอก และกระต่าย เป็นต้น โดยมีอาการทั้งแบบรุนแรงและไม่รุนแรง หากมีอาการรุนแรง ผู้ติดเชื้ออาจมีกลุ่มอาการ Hantavirus Pulmonary Syndrome (HPS) โดยผู้ป่วยจะแสดงอาการในเวลา 1-2 สัปดาห์หลังสัมผัสเชื้อไวรัสจากปัสสาวะ อุจจาระ หรือน้ำลายของสัตว์ที่ติดเชื้อ ในระยะแรกผู้ป่วยจะอ่อนเพลีย มีไข้ และปวดตามกล้ามเนื้อ บางรายอาจปวดศีรษะ หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย และปวดท้อง ต่อมาอาการจะกำเริบขึ้นจนทำให้หายใจไม่อิ่ม ไอ และเกิดภาวะน้ำในปอด นอกจากนี้ เชื้อไวรัสชนิดนี้อาจทำให้เกิดการป่วยรุนแรงที่จะเริ่มปรากฏอาการหลังได้รับเชื้อภายใน 1-2 สัปดาห์ เช่น ปวดศีรษะ ปวดหลัง ปวดท้อง มีไข้ ปัสสาวะผิดปกติ ตาแดง เป็นผื่นตามบริเวณต่าง ๆ และหากอาการรุนแรงมากอาจทำให้มีเลือดออกที่ไตหรือไตวายได้

  • โรคติดเชื้อซาลโมเนลโลซิส (Salmonellosis) 

เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่พบได้ทั่วไป โดยเชื้อซาลโมเนลโลซิสมักอาศัยอยู่ในลำไส้ของมนุษย์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอย่างหนู รวมทั้งสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ปีกด้วย เชื้อนี้จะถูกขับถ่ายออกทางอุจจาระ ซึ่งผู้ป่วยมักติดเชื้อจากการรับประทานไข่ เนื้อสัตว์และสัตว์ปีกที่ปรุงไม่สุก หรือการดื่มน้ำที่มีเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวปนเปื้อนอยู่ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อมักไม่แสดงอาการของโรคออกมาให้เห็น แต่บางรายอาจมีไข้ ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน หนาวสั่น ปวดศีรษะ และอุจจาระเป็นเลือดภายใน 8-72 ชั่วโมงหลังได้รับเชื้อ แต่ผู้ป่วยที่มีสุขภาพแข็งแรงอาจหายจากโรคได้เองโดยไม่ต้องรับการรักษา

  • โรคทูลารีเมีย (Tularemia) 

หรือโรคไข้กระต่าย เป็นโรคติดต่อที่พบได้ไม่บ่อยนัก ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียฟรานซิสเซลล่า ทูลาเรนซิส (Francisella Tularensis) ที่มักพบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกลุ่มสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู กระต่าย กระรอก และอาจพบในสัตว์ชนิดอื่น เช่น แกะ สุนัข แมว โดยแบคทีเรียชนิดนี้สามารถติดต่อสู่คนได้จากการถูกหมัดหรือเห็บกัด และการสัมผัสกับสัตว์ที่ติดเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวโดยตรง ผู้ป่วยที่ติดเชื้อจะมีไข้อย่างเฉียบพลันหลังได้รับเชื้อประมาณ 3-5 วัน นอกจากนี้ อาจมีอาการหนาวสั่น ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโต และมีแผลจากการถูกสัตว์ที่ติดเชื้อกัด อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะแต่เนิ่น ๆ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโรคทูลารีเมียได้ดีขึ้น

  • โรคไข้หนูกัด 

เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่พบได้น้อยมาก เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตบาซิลลัส โนนิลิฟอร์มิส (Streptobacillus Moniliformis) และสไปริลลัม ไมนัส (Spirillum Minus) ซึ่งพบได้มากในประเทศแถบทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ โดยมีสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู กระรอก เพียงพอน (Weasel) และเฟอร์เร็ท (Ferret) เป็นพาหะของโรค การแพร่เชื้อสู่คนอาจเกิดจากการถูกสัตว์เหล่านี้กัด ขีดข่วน หรือสัมผัสกับปัสสาวะ อุจจาระ สารคัดหลั่งจากปาก ตา และจมูกของสัตว์ที่ป่วย โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคไข้หนูกัดที่ติดเชื้อสเตรปโตบาซิลลัส โนนิลิฟอร์มิส จะมีระยะฟักตัวของโรคน้อยกว่า 7 วัน และมีอาการ เช่น มีไข้ มีผดผื่นขึ้นตามร่างกาย และข้ออักเสบ ส่วนผู้ป่วยที่ติดเชื้อแบคทีเรียสไปริลลัม ไมนัส จะมีระยะฟักตัวของโรคนาน 14-18 วัน โดยจะมีไข้ มีแผลเปื่อยที่เกิดจากรอยกัดของหนู และต่อมน้ำเหลืองโต

เป็นโรคระบาดรุนแรงที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเยอร์ซีเนีย เพสติส (Yersinia Pestis) ที่มักอาศัยอยู่ในหมัดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดเล็ก เช่น หนูและกระรอก ผู้ป่วยมักได้รับเชื้อจากการถูกหมัดที่มีเชื้อกาฬโรคกัด หรือการสัมผัสของเหลวและวัตถุที่ปนเปื้อนเชื้อ นอกจากนี้ ยังสามารถติดเชื้อได้จากการหายใจเอาอากาศที่มีละอองเสมหะจากผู้ป่วยโรคนี้เข้าไป โดยผู้ป่วยกาฬโรคมักแสดงอาการหลังได้รับเชื้อแล้วประมาณ 1-7 วัน ซึ่งในระยะแรกผู้ป่วยจะมีไข้อย่างกะทันหัน หนาวสั่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดตามร่างกาย คลื่นไส้ และอาเจียน อย่างไรก็ตาม มีรายงานการเสียชีวิตของผู้ป่วยกาฬโรคในประเทศไทยครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2495 และยังไม่พบรายงานการเกิดกาฬโรคอีกจนถึงปัจจุบัน

 

มูลของเจ้าหนู

อุจจาระของหนูนั้นก็เหมือนอุจจาระของสัตว์ทั่วไป ที่อาจมีเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อน แต่ในหนูอาจจะมีเชื้อฉี่หนูอยู่ได้ด้วย เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคฉี่หนูมีชื่อว่า เล็ปโตสไปรา (Leptospira) โดยติดต่อกันผ่านทาง ปัสสาวะหรืออุจจาระสัตว์ติดเชื้อที่ปนเปื้อนมากับน้ำ ดินที่เปียก  แบคทีเรียชนิดนี้สามารถไชเข้าสู่ร่างกายได้ทางเยื่อบุตา ปาก จมูกของคน รวมถึงรอยแผล รอยขีดข่วนทั้งหลาย หรือแม้แต่ผิวหนังปกติที่แช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานานจนอ่อนนุ่ม

 

ขั้นตอนการให้บริการ Happy House กำจัดหนู เชียงใหม่

 

ให้คำปรึกษาและแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับบริการกำจัดหนู
ตรวจสอบและสำรวจหน้างาน เพื่อนำมาวิเคราะห์และประเมินราคา
ออกใบเสนอราคาการให้บริการกำจัดหนู
ลูกค้ายินยอมและเซ็นสัญญาการให้บริการ
ดำเนินการกำจัดหนูโดยทีมงานมืออาชีพ
ลูกค้าตรวจสอบความเรียบร้อยพื้นที่หน้างาน ก่อนส่งมอบ
ส่งมอบงานให้แก่ลูกค้า

 

 

 

สำหรับลูกค้าท่านใดที่กำลังประสบปัญหาปลวก มด เเมลงสาบ หนู งู Happy House รับกำจัดปลวก เชียงใหม่ พร้อมยินดีให้บริการคุณอย่างครบวงจร โดยทีมงานคุณภาพที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน คอยให้บริการตรวจเช็ก ประเมินราคา และให้คำปรึกษาฟรี! เพื่อแก้ไขปัญหาให้ถูกจุดและทันท่วงที ทั้งบ้านพักอาศัย หอพัก คอนโด โรงแรม โรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรม และสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ อีกมากมาย พร้อมรับประกัน 1 ปีเต็ม Happy House เราให้บริการในเขตพื้นที่ดังนี้ รับกำจัดปลวก เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และพื้นที่ใกล้เคียง


สอบถามรายละเอียดบริการกำจัดเเมลงสาบเพิ่มเติมได้ที่
Web Site :https://www.happyhouse.co.th/
โทร: : 065-648-8828
E-Mail : [email protected]
Facebook Page : HappyHouseCM
Line : @happyhousecm


บทความที่เกี่ยวข้อง